หลักการและเหตุผล
อนุสนธิจากการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยเยาวชนเพื่อสังคม เมื่อ พ.ศ. 2549 โดยแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) ในชื่อกิจกรรม “เทศกาลเสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่ง” ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์จากความสามารถของนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมเชิงศิลปะบันเทิงคดีแนวทดลอง อาทิ การนำเอาวรรณกรรมซีไรต์มาสร้างสรรค์เป็นละครสำหรับเด็กและเยาวชน การสร้างสรรค์งิ้วและลิเกแนวใหม่เพื่อสื่อกับสังคมคนหนุ่มสาว นับเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปและเยาวชนจำนวนมาก
ในช่วง3-4 ปีมานี้ กิจกรรมเชิงศิลปวัฒนธรรมที่มีการขยายตัวและได้รับความสนใจอย่างมาก จากเยาวชนทั้งระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา คือกิจกรรมด้านศิลปะการละคร ทั้งในฐานะที่เป็นการศึกษาในหลักสูตรการเรียนการสอน และในฐานะกิจกรรมเสริมหลักสูตร หากแต่ละครที่นิสิตนักศึกษาผลิตขึ้นแทบจะไม่มีละครสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา อันเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับการสร้างเสริมและสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้ริเริ่มดำเนินเกี่ยวกับหนังสือสำหรับเด็กอย่างจริงจัง และได้ดำเนินโครงการหนังสือคัดสรรเพื่อพัฒนา “หน้าต่างแห่งโอกาส”สำหรับเด็กปฐมวัย และมอบรางวัลให้แก่สำนักพิมพ์ผู้ผลิตหนังสือดีรวม 108 เล่ม และพร้อมจะขยายผลเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู พี่เลี้ยงเด็ก ให้ได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือที่มีคุณภาพเหล่านั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำแนวคิด แนวทาง การสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก จากเนื้อหาสาระและหลักการอันเป็นความรู้ที่น่าสนใจจากโครงการดังกล่าว มาส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการแสดง/การละคร มาสร้างสรรค์เป็นละครสำหรับเด็ก (วัย 3-9 ปี) เพื่อจะได้ละครที่มีคุณภาพอย่างหลากหลายจากความสามารถเชิงสร้างสรรค์ของเยาวชนระดับอุดมศึกษา อันจะได้เป็นตัวอย่างหรือ “แบบ” สำหรับผลักดันให้เกิดผลในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการพัฒนาเด็ก และ เพื่อผลักดันสู่ระบบการศึกษาด้านศิลปะการแสดง/การละคร หรือจิตตศิลป์หรือจิตตปัญญาศึกษา (contemplative arts / contemplative study) ต่อไป
อนึ่ง ในกระบวนการดังกล่าวยังมุ่งหมายส่งเสริมความคิดด้านจิตอาสาแก่เยาวชน เพื่อให้เยาวชนมีจิตใจที่เกื้อกูลให้กับเพื่อนร่วมสังคมด้วยไมตรี โดยการนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นไปจัดการแสดงให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส เช่นในพื้นที่ในเครือข่ายของมูลนิธิเด็ก และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
ในการนี้สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ประจำและพิเศษที่มีความสนใจในเรื่องเด็ก หนังสือ การเล่าเรื่อง นอกเหนือจากการแสดง จึงเห็นควรเสนอให้แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดกิจกรรมในโครงการ “เสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่ง : เปิดหน้าต่างละครสร้างสรรค์เพื่อเด็ก” ด้วยหลักการเหตุผลดังกล่าว และจักได้พินิจถึงศักยภาพที่การละครสำหรับเด็กจะสามารถนำไปสู่การสร้างเสริม หรือสนับสนุนน สุขภาวะด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชนต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน(ระดับอุดมศึกษา) มีความรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานการสร้างผลงานการแสดง/ละคร สู่กลุ่มเป้าหมายคือเด็กและผู้ปกครอง
2.เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารศิลปะการเล่าเรื่อง/การละคร ที่มีคุณภาพสำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา
3.เพื่อขยายผลการพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานด้านสื่อ/การสื่อสารของเยาวชนเพื่อสังคมด้วยจิตอาสา
4.เพื่อขยายผลการพัฒนาเด็กด้วยการสื่อสารเชิงสุนทรียะ ด้วยหลักการทั้งด้านองค์ความรู้และตัวอย่างสื่อ(หนังสือคัดสรร)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ได้แนวทางความรู้สำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะการเล่าเรื่อง การสร้างสรรค์ละคร/สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบ
2) ได้แนวทางการขยายผลในการส่งเสริมเยาวชนในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณะด้วยจิตสำนึกอันดีงาม
ได้แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาเด็กจากการสื่อสารเชิงสุนทรียะแบบต่างๆ
ผู้เข้าร่วมโครงการ
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลักๆ ดังนี้
ช่วงแรก นิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจ/มีความรู้พื้นฐานด้านการละครจากมหาวิทยาลัยต่างๆ
เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก รวม ประมาณ 60 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ/วิทยากรจากแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และจากสาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝ่ายดำเนินงาน ผู้สังเกตการณ์ รวม 75 คนผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีระยะเวลาสัมมนาเชิงปฏิบัติรวม 2 วัน (วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 8-9 มกราคม 2554)
ภายหลังจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เป็นช่วงที่แต่ละทีมไปดำเนินการสร้างสรรค์ละครเพื่อเด็กจากแนวทางที่ได้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ คณะวิทยากรจะเดินทางไปสังเกตการณ์เพื่อประเมิน ผลงานและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงผลงานการแสดงเพื่อสร้างสรรค์เด็กของแต่ละทีม
และมอบงบประมาณดำเนินการให้สำหรับทีมที่ผลงานอยู่ในขั้นดี ทีมละประมาณ 7,000 บาท
ช่วงที่สอง กำหนดการจัดเทศกาล “เสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่ง : เปิดหน้าต่างละครสร้างสรรค์เพื่อเด็ก” ในช่วง 12-13 มีนาคม 2554 ในช่วงที่สองนี้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่มาชมผลงานการแสดงคือเด็กและผู้ปกครอง ประมาณ 60 คน นอกเหนือจากผู้เข้าร่วมโครงการนอกเหนือจากกลุ่มต่างๆ จากในช่วงที่หนึ่งแล้ว ยังประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านปฐมวัยและประถมศึกษา ด้านศิลปะการแสดง และการสื่อสาร ที่จะให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลงานการแสดงในแต่ละเรื่อง เพื่อแนะนำแนวทางการเลือกสรรและส่งเสริมเด็กปฐมวัยตอนปลายและประถมศึกษาตอนต้น ด้วยสื่อเชิงสุนทรียะประเภทต่างๆ ได้แก่ละคร การแสดง ดนตรี และหนังสือ รวมทั้งสิ้นประมาณวันละ 80 คน
ขอบเขตและรูปแบบการดำเนินงาน
6.1 การเตรียมการ ประชาสัมพันธ์ให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ส่งทีมนิสิตนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐาน ด้านการแสดงเข้าร่วมกิจกรรม โดยพิจารณาคัดเลือก รวมประมาณ 10 ทีม (ทีมละ 5 คน)
6.2 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ รวม 2 วัน สำหรับนิสิตนักศึกษาที่จะนำแนวคิดแนวทางสร้างสรรค์ละครสำหรับเด็ก และสาระเนื้อเรื่องจากหนังสือคัดสรร (108 หนังสือดี) เพื่อพัฒนาหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 8-9 มกราคม 25553
6.3 การติดตามผลงานการสร้างสรรค์ของแต่ละทีม เพื่อให้ข้อแนะนำและประเมินคุณภาพ
ผลงาน และมอบงบประมาณดำเนินการให้สำหรับทีมที่ผลงานมีความก้าวหน้าและมีคุณภาพดี
6.4 การนำเสนอผลงานในเทศกาล “เสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่ง : เปิดหน้าต่างละครสร้างสรรค์เพื่อ
เด็ก” รวม 2 วันวันละ 4-5 เรื่อง (ความยาวเรื่องละ 20-30 นาที) โดยมีกิจกรรมอื่นๆ ร่วมนำเสนอด้วย อาทิ ภาพยนตร์/คลิปผลงานนักศึกษาที่ชนะการประกวดจาก SIPA จากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส (AIDS) ครอบครัวเล่านิทานจากวิทยุ FM 105 โขนเด็ก ลิเกเพื่อน้อง ตลอดจนจากกลุ่มเด็กต่างๆ ที่มีผลงานน่าสนใจ โดยเชิญนักศึกษาหรือเยาวชนเจ้าของผลงานมาร่วมพูดคุย
ในช่วงเทศกาล จะมีการประกวดผลงานละครสร้างสรรค์เพื่อเด็ก โดยคณะกรรมการและโดยการโหวตจากผู้เข้าร่วมการแสดง โดยได้รับโล่เกียรติยศและเงินรางวัลดังนี้ รางวัลยอดเยี่ยม 20,000 บาท รางวัลดีเด่น 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท และรางวัลยอดนิยม 3,000 บาท
6.5 การนำผลงานของทีมต่างๆ ไปจัดแสดงให้กับเด็กด้อยโอกาสในชุมชนหรือพื้นที่เครือข่ายข
มูลนิธิเด็ก และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
6.6 การสรุปผลเพื่อถอดความรู้จากโครงการ เพื่อนำเสนอแนวทางสู่การสร้างหรือเสริมในการ
หลักสูตรการเรียนการสอนด้านการละครสำหรับเด็ก ตลอดจนเป็นช่องทางใหม่ๆ ในการพัฒนาละครสำหรับเด็กโดยเยาวชนระดับอุดมศึกษา และการสร้างเสริมจิตสำนึกต่อสังคม เพื่อเสนอต่อสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระยะเวลาดำเนินการ วันเวลาและสถานที่
ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2553 – 31 มีนาคม 2554 โดยแบ่งออกเป็นสองช่วงหลักๆ ดังนี้
คือ ช่วงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ ช่วงดำเนินการจัดกิจกรรมสู่สาธารณะ(เทศกาลเสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่งฯ)
ก. ช่วงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 15 พ.ย.2553 – 15 ม.ค.2554
ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์ ติดต่อเชิญชวนนิสิตนักศึกษาสถาบันต่างๆ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมการด้านเนื้อหา วิทยากร กระบวนการ และสรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ สถานที่อบรมเชิงปฏิบัติการศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ข. ช่วงดำเนินการจัดกิจกรรมสู่สาธารณะ 16 ม.ค. – 31 มี.ค.2554
คณะทำงานและวิทยากรติดตามไปประเมินผลงานของทีมต่างๆ พร้อมให้ข้อแนะนำเพื่อพัฒนาผลงานการแสดงละครของแต่ละทีม เพื่อการเตรียมพร้อมก่อนแสดงสู่กลุ่มเป้าหมาย ตัดสินการประกวดโดยคณะกรรมการ และเตรียมการประสานงานให้กลุ่มต่างๆ ไปจัดแสดงเพื่อสื่อสารกับเด็กในพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก รวม 3 แห่ง
สรุปประเมินผล ถอดบทเรียนการกระบวนเพื่อการขยายผลต่อไป
สำหรับการจัด เทศกาลเสกสื่อเสกฝันเพื่อวันพรุ่ง : เปิดหน้าต่างละครสร้างสรรค์เพื่อเด็ก จะจัดที่สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ) ในวันที่ 12-13 มีนาคม 2554
ตารางปฏิบัติการ
พ.ย.53 ธ.ค.53 ม.ค.54 ก.พ.54 มี.ค.54
15-30
ประชุมเตรียมการ
1-20 ประชาสัมพันธ์
1-31 รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
1 ธ.ค. - 7 ม.ค. 8-9 ม.ค.
เตรียมการอบรมฯ จัดอบรมปฏิบัติการ
10 -15 สรุปการอบรมฯ 1 ก.พ.-5 มี.ค.
ติดตามให้ข้อแนะนำ
การสร้างสรรค์ผลงาน
12-13
จัดกิจกรรมสู่สาธารณะ
5-31
ถอดบทเรียน/สรุป
เพื่อการขยายผล
หน่วยงานดำเนินการและผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ : โครงการเสกสื่อเสกฝัน สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 083-556-4633 , 081-817-2536
ผู้ประสานงานโครงการ : อ.ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย
ผู้ทรงคุณวุฒที่ปรึกษา : รศ. ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์